บทความสุขภาพ
-
7 เรื่องที่ผู้หญิงต้องรู้
แม้มะเร็งปากมดลูกจะพบมากเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม แต่กลับเป็นสาเหตุการเสียชีวิตจากมะเร็งอันดับหนึ่งของหญิงไทย
ผู้เขียน: นพ.ยุทธศิลป์ เลื่อมประภัศร์
-
Carotid Duplex
การตรวจหลอดเลือดใหญ่บริเวณคอที่ทำหน้าที่ส่งเลือดไปเลี้ยงสมอง ทั้งระบบหลอดเลือดส่วนหน้า (Carotid Artery) และระบบหลอดเลือดส่วนหลัง (Vertebral Artery& Basilar Artery)โดยอาศัยคลื่นความถี่สูง ซึ่งสามารถตรวจได้ทั้งโครงสร้าง และลักษณะการไหลเวียนเลือดในหลอดเลือดตลอดจนประเมินความเสี่ยง อันอาจนำไปสู่สภาวะหลอดเลือดตีบในอนาคต
-
เทคโนโลยีผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง (Endoscopic spine surgery)
เป็นการผ่าตัดที่มีการเลาะหรือตัดเนื้อเยื่อบริเวณข้างเคียงน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเดิม โดยในอดีตการผ่าตัดกระดูกสันหลังต้องมีการเปิดแผลที่ใหญ่ มีการเลาะกล้ามเนื้อ มีการทำลายกล้ามเนื้อส่วนที่ไม่จำเป็น และต้องตัดออกค่อนข้างเยอะ
-
5 สุดยอดอาหารอร่อย แต่เสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่
เป็นที่ทราบกันดีว่าอาหารหลายชนิดเป็นสุดยอดอาหารต้านมะเร็ง ในทางกลับกันการรับประทานอาหารบางชนิดอาจเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งได้เช่นกัน โดยเฉพาะมะเร็งลำไส้ใหญ่ แม้จากสถิติพบว่า 9 ใน 10 คนที่เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ เกิดขึ้นเมื่ออายุมากกว่า 50 ปี แต่พฤติกรรมการกินถือเป็นการเพิ่มโอกาสเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่มากถึง 1 ใน 3 ของปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ โดยเฉพาะอาหารอร่อย ถูกปาก 5 เมนู ที่เป็นตัวการใหญ่กระตุ้นการเติบโตของเซลล์มะเร็ง
ผู้เขียน: นพ.จิตต์พัฒน์ ถนอมธีระนันท์
-
พุงโต แน่นท้อง
อาการแน่นท้อง ท้องผูก และเหมือนพุงจะใหญ่ขึ้นด้วย เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง
ผู้เขียน: พญ.ปัทมา เกียรติภาพันธ์
-
นวัตกรรมการตรวจและการรักษา ไขมันคั่งสะสมในตับ
“ไขมันคั่งสะสมในตับ” เป็นสาเหตุโรคตับที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน และสามารถมีการดำเนินโรคไปเป็นตับแข็งและมะเร็งตับได้ รวมทั้งเพิ่มความเสี่ยงในการชี้วัดจากโรคหัวใจขาดเลือดและโรคตับ ในฉบับนี้จะขอกล่าวถึงวิธีการวินิจฉัยโรคและการรักษา การวินิจฉัยโรคไขมันคั่งสะสมในตับ ทางคลินิกมักจะอาศัยดูลักษณะกลุ่มโรค Metabolic syndrome คือ อ้วน, เบาหวาน, ไขมันในเลือดสูง มีค่า HDL ต่ำ และความดันโลหิตสูง ร่วมกับดูว่าไม่มีสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดไขมันคั่งสะสมในตับ
ผู้เขียน: พญ.หนึ่งฤทัย ภิรมย์,นพ.จิตต์พัฒน์ ถนอมธีระนันท์,นพ.นนทพรรธน์ กันตถาวร,พญ.ปัทมา เกียรติภาพันธ์
-
การสวนหลอดเลือด ทำได้ทั่วร่างกาย
สวนหลอดเลือดสามารถทำได้กับอวัยวะอื่นๆทั่วร่างกาย สวนหลอดเลือดไม่ได้ยุ่งยาก ใช้เวลาในการทำประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง แผลขนาดเล็กเพียง 1.6 มม.เท่านั้น สวนหลอดเลือด เป็นเทคนิคที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไม่เจ็บ แผลเล็ก ใช้เวลาพักฟื้นสั้น โดยที่ความสำเร็จมีมากกว่า 90 %
ผู้เขียน: นพ.สราวุธ ลิ้มตั้งตุระกูล
-
แคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ (CT Coronary artery Calcium Scoring)
แคลเซียมหรือหินปูนที่หัวใจ นี้อาจเกาะอยู่ที่ผนังหลอดเลือด ที่ลิ้นหัวใจ หรือที่เยื่อหุ้มหัวใจ ที่ควรระวังคือหินปูนที่เกาะที่ผนังหลอดเลือดที่นำเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งเกิดจากการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดแดง และจะเกิดขึ้นก่อนเกิดอาการของโรคหัวใจนานหลายปี จากการศึกษาพบว่าปริมาณแคลเซียมนี้สามารถทำนายโอกาสเกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้ นอกเหนือจากปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรือการสูบบุหรี่ ภาวะแคลเซี่ยมเกาะที่หลอดเลือดนี้ จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากหลอดเลือดอุดตันเฉียบพลัน
-
เจ็บแน่นหน้าอก ขณะออกกำลังกาย ให้ระวัง
ปัจจุบันเทรนด์ดูแลสุขภาพเป็นที่นิยมอย่างสูงทั้งในวัยหนุ่มสาวและผู้สูงอายุ นอกจากเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์แล้ว การออกกำลังกายหลากหลายรูปแบบก็ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงสุขภาพดี แต่ในอีกมุมหนึ่ง หากออกกำลังกายในขณะที่ร่างกายไม่พร้อมหรือหักโหมมากเกินไป อาจเกิดผลเสียและรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังเช่นที่เป็นข่าวเสมอว่านักกีฬาระดับโลกหัวใจวายขณะแข่งขัน หรือคนที่ออกกำลังกายเป็นประจำ จู่ๆ ก็เกิดน็อคไปกระทันหัน
-
คุณเสี่ยงภาวะหัวใจวาย อยู่รึเปล่า?
โรคหัวใจและหลอดเลือด มีสาเหตุหนึ่งมาจากโรคไขมันในเลือดสูง อาจเกิดจากระดับคอเลสเตอรอลหรือระดับไตรกลีเซอร์ไรด์อย่างใดอย่างหนึ่งสูงผิดปกติ หรือสูงทั้งสองอย่างก็ได้ ซึ่งภาวะไขมันในเลือดสูงสามารถทำให้หลอดเลือดแข็ง ตีบ และอุดตัน ได้ในอนาคต ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ
-
ไขมันพอกตับ โรคฮิตของคนยุคใหม่
โดยปกติไขมันในร่างกายจะเป็นแหล่งพลังงาน เมื่อไหร่ที่เกิดการอดอาหาร ร่างกายก็จะดึงไขมันมาใช้เป็นพลังงานทดแทน โดยแหล่งที่เก็บไขมันในร่างกาย จะมีอยู่ 2 แหล่งใหญ่ๆ คือ หน้าท้องหรือที่พุง และอีกแหล่งซึ่งเป็นแหล่งที่ใหญ่ก็คือที่ตับ ไขมันที่ตับนี่นับว่าเป็นแหล่งพลังงานที่ใหญ่ที่สุด หากเกิดการสะสมของไขมันที่ตับมากๆ ก็จะเกิดภาวะไขมันพอกตับ
ผู้เขียน: นพ.จิตต์พัฒน์ ถนอมธีระนันท์
-
ต้อหิน (Glaucoma) ภัยเงียบคุกคามการมองเห็นในวัย 40+
โรคต้อหิน เป็นสาเหตุหลักอย่างหนึ่งของการสูญเสียการมองเห็น ซึ่งจะเป็นการสูญเสียแบบถาวรและไม่สามารถรักษาให้หายได้ หากมีคนในครอบครัวเป็นต้อหิน จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นต้อหินได้ 4-5 เท่า โรคต้อหินไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้น การป้องกันที่ดีที่สุดคือการวินิจฉัยให้ถูกต้องตั้งแต่ระยะเริ่มต้น โดยการเข้ารับการตรวจตาจากจักษุแพทย์ปีละครั้ง โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี