ติดต่อสอบถาม 038-320-300

เจ็บแน่นหน้าอก ขณะออกกำลังกาย ให้ระวัง


เจ็บแน่นหน้าอก ขณะออกกำลังกาย ให้ระวัง

   

       ปัจจุบันเทรนด์ดูแลสุขภาพเป็นที่นิยมอย่างสูงทั้งในวัยหนุ่มสาวและผู้สูงอายุ นอกจากเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์แล้ว การออกกำลังกายหลากหลายรูปแบบก็ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงสุขภาพดี แต่ในอีกมุมหนึ่ง หากออกกำลังกายในขณะที่ร่างกายไม่พร้อมหรือหักโหมมากเกินไป อาจเกิดผลเสียและรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังเช่นที่เป็นข่าวเสมอว่านักกีฬาระดับโลกหัวใจวายขณะแข่งขัน หรือคนที่ออกกำลังกายเป็นประจำ จู่ๆ ก็เกิดน็อคไปกระทันหัน

 

สาเหตุการเสียชีวิตระหว่างการออกกำลังกายจากโรคหัวใจ แบ่งได้ 2 กลุ่ม

 

  • อายุน้อยกว่า 35 ปี กลุ่มนี้มักมีโรคหัวใจตั้งแต่กำเนิด แต่ไม่แสดงอาการ และตรวจพบได้ยาก
  • อายุมากกว่า 35 ปี มักเกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยมีอาการอยู่แล้ว แต่ไม่สนใจ หรือถึงแม้จะไม่เคยมีประวัติเป็นโรคหัวใจมาก่อน สุขภาพแข็งแรง และอยู่ในวัยที่ไม่ได้เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ แต่อาจมีเส้นเลือดหัวใจตีบโดยไม่รู้ตัว ซึ่งเมื่อออกกำลังกายอย่างหักโหม จะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ และกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน นำไปสู่การสียชีวิต

 

เจ็บหน้าอกแบบไหน กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

     

       หากเจ็บแปล๊บๆ จี๊ดๆ อยู่ดีๆ ก็เจ็บ ซึ่งไม่สัมพันธ์กับการออกแรงหรือออกกำลังกาย เจ็บเวลาขยับตัว หรือเป็นอยู่ราว 1-2 สัปดาห์ ก็หายไป อาการแบบนี้ มักเกิดจากการเคลื่อนไหวผิดท่า ผิดจังหวะ หรือจากความเครียด รวมถึงอาจเนื่องจากกล้ามเนื้อบริเวณหน้าอกอักเสบ จากการถูกยืด ดึง รั้ง ซึ่งอาการเจ็บหน้าอกในลักษณะนี้ส่วนใหญ่ไม่เป็นอันตราย หากเป็นบ่อยๆ การรับประทานยาก็สามารถช่วยให้หายเร็วขึ้น แต่หากจุดเกิดเหตุอยู่ตรงกลางหน้าอก เจ็บแน่นหน้าอกแล้วร้าวไปที่กราม หลัง ไหล่ซ้าย ต้นแขนซ้าย หรือลงไปถึงลิ้นปี่ แต่ไม่ถึงสะดือ อาการสัมพันธ์กับการออกแรง หรือออกกำลังกาย แบบนี้น่าเป็นห่วง

   

       เพราะเป็นอาการ ของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หากมีอาการดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์หรือนำคนป่วยส่งโรงพยาบาลโดยด่วน การถึงมือแพทย์เร็วโอกาสรอดชีวิตก็มีมากขึ้น แม้เทรนด์การออกกำลังจะเป็นที่นิยมอย่างสูง อีกทั้งช่วยให้ร่างกายแข็งแรง แต่การออกกำลังกายอย่างหักโหมเกินไปก็อาจเกิดผลเสียตามมา แนะนำให้ผู้ที่จะออกกำลังกายอย่างจริงจัง ปรึกษาแพทย์ทางด้านโรคหัวใจ เพื่อทำการตรวจ เช่น กราฟหัวใจ (Electrocardiogram – EKG) การทดสอบโดยการเดินสายพาน (Exercise stress test – EST) การตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงหรืออัลตราซาวด์หัวใจ (Echocardiogram) เพื่อป้องกันความเสี่ยงเสียชีวิตขณะออกกำลังกาย

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด ชั้น 4 อาคาร C
โทร 038-320300 ต่อ 4170-1

25 ธันวาคม 2566

แพ็คเกจที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด

โปรแกรมตรวจสุขภาพตา

แสงสีฟ้าจากหน้าจอ และรังสียูวีจากแสงแดด อาจนำไปสู่ โรควุ้นในตาเสื่อม จอประสาทตาเสื่อม ต้อกระจก ต้อหิน

โปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งปอด ด้วยเครื่อง CT Scan

สูบบุหรี่จัดเป็นเวลานาน ไอเรื้อรัง ฝุ่น PM2.5 เสี่ยงเป็นมะเร็งปอด

โปรแกรมตรวจสมรรถภาพของหัวใจขณะออกกำลังกาย

เหนื่อยง่ายเวลาออกกําลังกาย หรือเดินเร็วๆ หายใจเข้าลำบาก เสี่ยงโรคหัวใจ

โปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และอัลตร้าซาวด์ภายใน

ตกขาวผิดปกติ มีเลือดปน ประจำเดือนมาไม่ปกติ เสี่ยงมะเร็งปากมดลูก

บทความสุขภาพ

ดูทั้งหมด

แคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ (CT Coronary artery Calcium Scoring)

แคลเซียมหรือหินปูนที่หัวใจ นี้อาจเกาะอยู่ที่ผนังหลอดเลือด ที่ลิ้นหัวใจ หรือที่เยื่อหุ้มหัวใจ ที่ควรระวังคือหินปูนที่เกาะที่ผนังหลอดเลือดที่นำเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งเกิดจากการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดแดง และจะเกิดขึ้นก่อนเกิดอาการของโรคหัวใจนานหลายปี จากการศึกษาพบว่าปริมาณแคลเซียมนี้สามารถทำนายโอกาสเกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้ นอกเหนือจากปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรือการสูบบุหรี่ ภาวะแคลเซี่ยมเกาะที่หลอดเลือดนี้ จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากหลอดเลือดอุดตันเฉียบพลัน