ติดต่อสอบถาม 038-320-300

หก….ล้ม ! ไม่ใช่เรื่องที่ต้องคอยลุ้น


     ปัญหาการหกล้มในผู้สูงอายุเป็นปัญหาใหญ่ที่อาจนำมาซึ่งผลกระทบทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยและครอบครัว เพราะผู้สูงอายุจะมีปัญหากระดูกพรุน และปัญหาการทรงตัวไม่ดี ทำให้มีโอกาสเกิด กระดูกหักหรือกระดูกยุบเมื่อเกิดการหกล้มได้บ่อยขึ้น ดังนั้นการป้องกันการหกล้ม และอุบัติเหตุในผู้สูงอายุ จึงมีความสำคัญในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุเป็นอย่างยิ่ง

 

วิธีลดปัจจัยเสี่ยง การหกล้ม และอุบัติเหตุในผู้สูงอายุ

 
  • ออกกำลังกายเพื่อฝึกการทรงตัว โดยการยืนขาเดียว เดินย่ำเท้าอยู่กับที่ ซึ่งอาจมีที่จับไว้เพื่อป้องกันการล้ม
  • กอดอกแล้วลุกยืนขึ้นจากเก้าอี้โดยไม่ใช้มือช่วย ทำซ้ำหลายๆครั้งเป็นประจำจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของข้อ กล้ามเนื้อต้นขา และหลัง ช่วยเรื่องการทรงตัวได้
  • ออกกำลังกายเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และเพิ่มทักษะการเคลื่อนไหว เช่น ไทเก๊ก ลีลาศ โยคะสำหรับผู้สูงอายุ
  • เคลื่อนไหวด้วยความระมัดระวัง ค่อยๆ เปลี่ยนท่า เพื่อป้องกันอาการหน้ามืด หรือเวียนศีรษะ
  • ติดไฟตามทางเดินเพื่อให้แสงสว่างเพียงพอ ช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถมองเห็นได้ชัดเจน
  • จัดห้องนอน และความสูงของเตียงให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ เช่น หากเป็นบ้านสองชั้น ควรให้ผู้สูงอายุอยู่ชั้นล่าง และเตียงควรมีความสูงระดับหัวเข่าของผู้สูงอายุ
  • ติดตั้งราวจับในห้องน้ำข้างๆ โถส้วม อ่างล้างหน้า และบริเวณที่ยืนอาบน้ำ อาจจัดเก้าอี้ให้ผู้สูงอายุนั่งอาบน้ำ รวมถึงพื้นห้องน้ำควรเปลี่ยนเป็นพื้นยางกันลื่น
  • ปูวัสดุกันลื่นในห้องน้ำ หรือในบริเวณที่พื้นลื่นเสี่ยงต่อการล้ม หลีกเลี่ยงการวางพรมที่เลื่อนได้ง่ายเมื่อผู้สูงอายุเดินเหยียบลงไป
  • ไม่มีของเกะกะระหว่างทางเดินภายในบ้าน
  • รองเท้าสำหรับผู้สูงอายุควรมีพื้นกันลื่น และหมั่นสังเกตว่ารองเท้าบีบหรือกดเท้าผู้สูงอายุจนเป็นตาปลาหรือเป็นแผลหรือไม่
  • เครื่องแต่งกาย กางเกง กระโปรง หรือผ้าถุง สำหรับผู้สูงอายุต้องไม่ยาวระพื้น
  • ไม่ควรปล่อยให้ผู้สูงอายุที่มีปัญหาทางการมองเห็น หรือความจำและการตัดสินใจไม่ดี ขับขี่รถยนต์ตามลำพัง และควรหลีกเลี่ยงการขับขี่รถจักรยาน หรือจักรยานยนต์เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุรุนแรงได้ง่าย
 

ศูนย์ข้อมูลเพิ่มเติม

โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีราชา

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร. 038-320-300

25 ธันวาคม 2566

แพ็คเกจที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด