ติดต่อสอบถาม 038-320-300

โรคไข้เลือดออก

พญ.กาญจนา วรรณวิไล

เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากการได้รับเชื้อไวรัสเดงกี  ซึ่งมี 4 ชนิด  โดยมียุงลายบ้าน ( Aedes Aegypti)  และยุงลายสวน (Aedes albopictus )เป็นพาหะนำโรค  เมื่อยุงกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออก เชื้อไวรัส ก็จะเพิ่มจำนวนในเซลล์ของยุงและบางส่วนไปอยู่ในต่อมน้ำลาย เมื่อยุงไปกัดอีกคนหนึ่งก็สามารถแพร่กระจายเชื้อไวรัสต่อไป  โรคนี้มักจะระบาดในฤดูฝน แต่ปัจจุบันพบได้ตลอดทั้งปี

Mother checking fever of her daughter in bedroom
 
เชื้อสาเหตุ : ไวรัสเดงกี
เชื้อไวรัสเดงกีเป็น single stranded RNA virus  ซึ่งมี 4 สายพันธุ์ ได้แก่ DENV 1 , DENV2 DENV3 และ DENV 4 ซึ่งมี Antigen ร่วมบางชนิดทำให้เมื่อมีการติดเชื้อชนิดใดชนิดหนึ่งแล้วจะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสชนิดนั้นอย่างถาวรตลอดชีวิตแต่จะมีภูมิคุ้กันต่อไวรัสเดงกีอีก 3 ชนิดในระยะสั้นได้ประมาณ 6-12 เดือน (หรืออาจจะสั้นกว่านี้)  หลังจากนี้จะมีการติดเชื้อไวรัสเดงกีชนิดอื่นๆที่ต่างจากครั้งแรกได้เรียกว่าเป็นการติดเชื้อซ้ำ ดังนั้นผู้ที่อยู่ในพื้นที่มีไวรัสเดงกีชุกชมอาจมีการติดเชื้อได้ 4 ครั้ง  และการติดเชื้อซ้ำยังเป็นปัจจัยสำคัญในการทำให้เกิดโรคไข้เลือดออกที่รุนแรงขึ้น  แต่ทั้งนี้ยังขึ้นกับปัจจัยอื่นๆอีกหลายประการที่สำคัญ คืออายุและภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย
 

ยุงพาหะ : ยุงลาย
            ยุงลายพบได้ทั่วไปในเขตร้อน แหล่งพาะพันธุ์คือ ภาชนะขังน้ำที่คนทำขึ้นและมีน้ำขังไว้เกิน 7วัน โดยเป็นน้ำใสและนิ่ง ยุงลายหลังดูดเลือดคนแล้วจะวางไข้ตามผิวน้ำของภาชนะ ไข่จะฟักตัวเป็นลูกน้ำภายใน 2วัน จากลูกน้ำก้จะกลายเป็นตัวโมง 6-8 วัน จากตัวโม่งกินเวลา 1-2 วันก็จะกลายเป็นยุงตัวเต็มวัยที่พร้อมจะไปออกหาอาหารและผสมพันธุ์  จะพบยุงลายมากในช่วงฤดูฝน ไข่ยุงลายที่ติดกับของผิวในภาชนะมีความทนต่อความแห้งแล้วเป็นนานเป็นปี เมื่อเข้าหน้าฝนมีความชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสมก็จะฟักตัวเป็นยุงได้ในระยะเวลา 9-12 วัน
 

ระยะฟักตัว :ประมาณ 5-8 วัน
          เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสเดงกีไปกัดคนอื่น ก็จะปล่อยเชื้อไวรัสไปยังผู้ถูกกัด และเมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายคนและผ่านระยะฟักตัวนานประมาณ 5-8 วัน หรืออาจสั้นสุด 3วันละนานสุดได้ถึง 15 วัน  ก็จะให้เกิดโรคและแสดงอาการของโรคได้
 

อาการของโรค : มีควารุนแรงแตกต่างกัน
       หลังจากได้รับเชื้อ 5-8 วัน (ระยะฟักตัว)  จะเริ่มมีอาการของโรค ซึ่งมีความรุนแรงแตกต่างกัน ตั้แต่อาการไข้ทั่วไปจนถึงอาการรุนแรงมากจนถึงช็อกและถึงเสียชีวิตได้
   

 โดยแบ่งอาการของโรคได้เป็น 3 ระยะ คือ
ระยะไข้สูง   ไข้สูงลอย 2-7 วัน    เบื่ออาหาร  คลื่นไส้อาเจียน   ปวดหัว ปวดรอบกระบอกตา  ปวดกล้ามเนื้อ หน้าแดง ตัวแดง อาจมีผื่น หรือจุดเลือด ออกตามผิวหนัง และตรวจพบตับโต
ระยะวิกฤติ (ระยะช็อคและเลือดออก)  อาจเกิดได้ตั้งแต่วันที่ 3ของโรคหรือเกิดขึ้นพร้อมๆกับที่มีไข้ลงอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยจะมีอาการ  กระสับกระส่าย  ชีพจรเต้นเร็ว  อาเจียนมาก  ปวดท้องหรือจุกแน่นใต้ลิ้นปี่มากขึ้น บางรายซึมมากขึ้น  ปัสสาวะน้อย  อาจมีเลือดออกในกระเพาะ
ระยะฟื้นตัว   อาการทั่วไปดีขึ้น  สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ ปัสสาวะออกากขึ้น  เริ่มรับประทานอาหารได้มากขึ้น ผื่นตามแขนขาและ มีอาการคันที่มือและเท้า


การวินิจฉัย : จากอาการและตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการ
การวินิจฉัยโรคประกอบด้วยอาการทางคลินิกและการตรวจเลือดพบปริมาณเกล็ดเลือดต่ำลงกว่าค่าปกติ หรือร่วมกับตรวจพบเชื้อไวรัสเดงกีในเลือด( Dengue Ns1  Ag) ให้ผลบวก หรือการตรวจพบภูมิคุ้มกันต่อไวรัสเดงกี (Dengue IgM  ) ให้ผลผบวก

การดูแลรักษา : ไม่มียาต้านไวรัส
เป็นการรักษาตามอาการและประคับประคอง โดยการใช้ยาลดไข้ตามความจำเป็น หลีกเลี่ยงการใช้ยาลดไข้กลุ่มยาลดไข้สูงหรือ Ibuyprofen  ให้สารน้ำชดเชหรือดื่มน้ำเกลิอแร่มากๆ และติดตามอาการใกล้ชิดเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน


ผู้ป่วยที่ควรได้รับการดูแลรักษาในโรงพยาบาล

  1. ผู้ป่วยเด็กหรือคนสูงอายุ
  2. มีโรคประจำตัว เช่น โรคธาลัสซีเมียโรคหัวใจ โรคไต เป็นต้น
  3. ภาวะอ้วน
  4. รับประทานอาหารไม่ได้หรืออาเจียนมาก
  5. มีอาการปวดท้องรุนแรง
  6. มีภาวะเลือดออก เช่น อาเจียนเป็นเลือด เลือดกำเดาไหล
  7. กระสับกระส่ายหรือมือเท้าเย็น
การป้องกันโรคไข้เลือดออก : วัคซีน
  • ป้องกันไม่ให้ยุงกัด
  • กำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ได้แก่
  • ผู้ป่วยที่เป็นไข้เลือดออก ไม่ควรให้ถูกยุงกัดภายใน 5 วันแรกของโรค เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อไปให้คนอื่น
  • รายงานคนไข้ไปที่โรงพยาบาลหรืออนามัยจังหวัด เพื่อส่งเจ้าหน้าที่ไปทำการกำจัดยุงบริเวณนั้น ก่อนที่จะมีการระบาดเพิ่มขึ้น
  • วัคซีน ปัจจุบันมีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพในการลดการติดเชื้อไวรัสเดงกีและลดความรุนแรงของโรคได้ถ้าหากได้รับเชื้อ ซึ่งปัจจุบันสามารถฉีดได้ในเด็กตั้งแต่อายุ 4 ปี จนถึงผู้ใหญ่อายุ 60ปี
Close-up kid wearing smiley patch on arm

25 ธันวาคม 2566

พญ.กาญจนา วรรณวิไล

สาขา
อนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคติดเชื้อ

แพ็คเกจที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด

วัคซีนไข้เลือดออก

ปี 2567 คาดว่า ได้เลือดออก จะระบาดสูงกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ผ่านมา ถึง 3 เท่า

บทความสุขภาพ

ดูทั้งหมด