รักษาโรคพังผืดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ ด้วยการฉีดสารน้ำตาลความเข้มข้นต่ำผ่านเครื่องอัลตร้าซาวด์
นพ.สรวิศร์ วีระโสภณ
งผืดทับเส้นประสาทข้อมือ (Carpal tunnel syndrome) เป็นโรคที่พบบ่อย เมื่ออายุมากขึ้นประมาณ 50 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่จะเจอในผู้ป่วยเพศหญิง ที่ใช้งานข้อมือเป็นประจำ แม่บ้าน ทำงานบ้าน แต่ไม่น้อยก็พบในเพศชายได้
ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการปวดชาจากการถูกกดทับเส้นประสาท Median nerve ความรู้สึกบริเวณนิ้วมือ นิ้วโป้งถึงนิ้วนางจะลดลง รู้สึกชายิบๆ ที่ปลายนิ้ว เมื่ออาการมากขึ้น อาการปวดจากมากจนต้องลุกตื่นเวลากลางคืน เริ่มมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อโคนนิ้วโป้ง (Thenar muscle) สุดท้ายกล้ามเนื้ออุ้งมือจะฝ่อลีบ สูญเสียการขยับของนิ้วโป้งบางส่วน
การรักษา จะเริ่มจากการปรับพฤติกรรม ลดการใช้งานข้อมือ ใส่ Splint ลดการขยับ นอกจากนี้ การทานยาลดปวดลดบวม NSAIDs ยาคลายกล้ามเนื้อ และ Vitamin B ก็มีส่วนช่วยได้เช่นกัน ถ้าอาการไม่ดีขึ้น จะปรับการรักษาเป็นการฉีดยาและผ่าตัดต่อไป
ตัวเลือกของการฉีดยาในปัจจุบัน มีหลากหลายมากขึ้น “Steroid” เป็นตัวเลือกหลักเนื่องจาก หาได้ง่าย แต่ผลเสีย มีการระคายเคืองต่อเส้นเอ็นและอวัยวะสำคัญข้างเคียง จึงทำให้จำกัดการฉีดที่ 2 ครั้ง และพิจารณาการรักษาแบบอื่นต่อไป
ทางเลือกใหม่คือสารละลายที่ช่วยให้อาการและพยากรณ์โรคดีขึ้น ผลข้างเคียงน้อย ตัวเลือกนั้นคือ 5%DW ที่จะช่วยทำให้เส้นประสาทฟื้นตัวได้ดี (Nerve regeneration) และการฉีดสารละลายจะเหมือนเป็นการคลายเส้นประสาทจะอวัยวะข้างเคียง (Hydrodissection) อีกด้วย
การฉีดประเภทนี้ ต้องการความแม่นยำในการฉีดรอบเส้นประสาท จึงจำเป็นต้องฉีดผ่านเครื่องมืออัลตราซาวด์ Ultrasound guided 5%DW CTS injection
ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการปวดชาจากการถูกกดทับเส้นประสาท Median nerve ความรู้สึกบริเวณนิ้วมือ นิ้วโป้งถึงนิ้วนางจะลดลง รู้สึกชายิบๆ ที่ปลายนิ้ว เมื่ออาการมากขึ้น อาการปวดจากมากจนต้องลุกตื่นเวลากลางคืน เริ่มมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อโคนนิ้วโป้ง (Thenar muscle) สุดท้ายกล้ามเนื้ออุ้งมือจะฝ่อลีบ สูญเสียการขยับของนิ้วโป้งบางส่วน
การรักษา จะเริ่มจากการปรับพฤติกรรม ลดการใช้งานข้อมือ ใส่ Splint ลดการขยับ นอกจากนี้ การทานยาลดปวดลดบวม NSAIDs ยาคลายกล้ามเนื้อ และ Vitamin B ก็มีส่วนช่วยได้เช่นกัน ถ้าอาการไม่ดีขึ้น จะปรับการรักษาเป็นการฉีดยาและผ่าตัดต่อไป
ตัวเลือกของการฉีดยาในปัจจุบัน มีหลากหลายมากขึ้น “Steroid” เป็นตัวเลือกหลักเนื่องจาก หาได้ง่าย แต่ผลเสีย มีการระคายเคืองต่อเส้นเอ็นและอวัยวะสำคัญข้างเคียง จึงทำให้จำกัดการฉีดที่ 2 ครั้ง และพิจารณาการรักษาแบบอื่นต่อไป
ทางเลือกใหม่คือสารละลายที่ช่วยให้อาการและพยากรณ์โรคดีขึ้น ผลข้างเคียงน้อย ตัวเลือกนั้นคือ 5%DW ที่จะช่วยทำให้เส้นประสาทฟื้นตัวได้ดี (Nerve regeneration) และการฉีดสารละลายจะเหมือนเป็นการคลายเส้นประสาทจะอวัยวะข้างเคียง (Hydrodissection) อีกด้วย
การฉีดประเภทนี้ ต้องการความแม่นยำในการฉีดรอบเส้นประสาท จึงจำเป็นต้องฉีดผ่านเครื่องมืออัลตราซาวด์ Ultrasound guided 5%DW CTS injection
31 มกราคม 2567
นพ.สรวิศร์ วีระโสภณ
ความชำนาญ : ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, ศัลยศาสตร์ทางมือและจุลศัลยศาสตร์