ติดต่อสอบถาม 038-320-300

พุงโต แน่นท้อง

พญ. ปัทมา เกียรติภาพันธ์

อาการแน่นท้อง ท้องผูก และเหมือนพุงจะใหญ่ขึ้นด้วย เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง 

     อาการท้องผูก แน่นท้อง อาจเกิดจากพฤติกรรม เช่น รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย ดื่มน้ำน้อย ไม่ค่อยขยับร่างกาย หรืออาจเกิดจากยาบางตัวที่ทำให้ท้องผูก ที่พบได้บ่อยคือ แคลเซียม ธาตุเหล็ก หรือเกิดจากโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคฮอร์โมนไธรอยด์ต่ำ โรคทางระบบประสาท นอกจากนั้นอาจเกิดจากมีความผิดปกติของลำไส้เอง เช่น มะเร็งลำไส้

 

โดยปกติแล้วการขับถ่ายที่ดีควรเป็นอย่างไร ?

     การขับถ่ายปกติคือการถ่ายไม่เกิน 3 ครั้งต่อวัน และไม่ต่ำกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยลักษณะอุจจาระต้องปกติ ไม่เหลว หรือแข็งเกินไป

 

ถ้าไม่ได้ขับถ่ายทุกวันจะถือว่าผิดปกติหรือไม่ ?

     ไม่ผิดปกติ ถ้าถ่ายวันเว้นวัน และอุจจาระไม่แข็ง หรือเป็นเม็ดๆ

 

ถ้าอยากให้การขับถ่ายกลับมาเป็นปกติควรทำอย่างไร ? 

  • รับประทานอาหารที่มีกากใยมากๆ ผัก ผลไม้
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ วันละ ประมาณ 2 ลิตร ( 8 แก้ว ต่อวัน)
  • ฝึกถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลา
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

 

     ถ้าปรับพฤติกรรมแล้ว ยังไม่ดีขึ้น และมีอาการร่วมอย่างอื่น เช่น ปวดท้อง ถ่ายมีเลือดปน ผอมลง น้ำหนักลด ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อค้นหาความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ด้วยการส่องกล้อง

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ศูนย์เฉพาะทางโรคตับ และระบบทางเดินอาหาร 

ชั้น 4 อาคาร C  โทร 038-320-300 ต่อ 4400-1

03 มีนาคม 2563

พญ. ปัทมา เกียรติภาพันธ์

ความเชี่ยวชาญ
ระบบทางเดินอาหารและตับ

แพ็คเกจที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด

บทความสุขภาพ

ดูทั้งหมด

นวัตกรรมการตรวจและการรักษา ไขมันคั่งสะสมในตับ

“ไขมันคั่งสะสมในตับ” เป็นสาเหตุโรคตับที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน และสามารถมีการดำเนินโรคไปเป็นตับแข็งและมะเร็งตับได้ รวมทั้งเพิ่มความเสี่ยงในการชี้วัดจากโรคหัวใจขาดเลือดและโรคตับ ในฉบับนี้จะขอกล่าวถึงวิธีการวินิจฉัยโรคและการรักษา การวินิจฉัยโรคไขมันคั่งสะสมในตับ ทางคลินิกมักจะอาศัยดูลักษณะกลุ่มโรค Metabolic syndrome คือ อ้วน, เบาหวาน, ไขมันในเลือดสูง มีค่า HDL ต่ำ และความดันโลหิตสูง ร่วมกับดูว่าไม่มีสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดไขมันคั่งสะสมในตับ

ผู้เขียน: พญ.หนึ่งฤทัย ภิรมย์,นพ.จิตต์พัฒน์ ถนอมธีระนันท์,นพ.นนทพรรธน์  กันตถาวร,พญ.ปัทมา เกียรติภาพันธ์