ติดต่อสอบถาม 038-320-300

ศูนย์ต่อนิ้ว

การผ่าตัดต่อนิ้ว (Digital replantation)

เป็นการผ่าตัดโดยการใช้กล้องจุลทรรศน์มาใช้ในการต่อเส้นเลือดและเส้นประสาท เทคนิคการผ่าตัดต่อนิ้วได้ถูกพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ จนมีผลการรักษาที่ดีขึ้นจนถึงปัจจุบัน เมื่อเกิดการบาดเจ็บ ที่ทำให้นิ้วมือขาด ผู้ป่วยหรือผู้ที่นำส่งมาที่โรงพยาบาลควรนำชิ้นส่วนต่างๆ  ที่ขาดมาให้ครบ ก่อนมาโรงพยาบาลให้ล้างชิ้นส่วนที่ขาดด้วยน้ำสะอาด แล้วนำผ้าสะอาดชุบน้ำพอหมาดๆ ห่อชิ้นส่วนนิ้วไว้ ใส่ในถุงพลาสติก ปิดปากถุงให้แน่น  แล้วนำไปแช่น้ำแข็ง (ไม่ควรให้ชิ้นส่วนสัมผัสกับน้ำแข็งโดยตรง) ในส่วนของตอนิ้ว (มือของผู้ป่วย) ให้ใช้ผ้าพันปิดแผลแน่นๆ เพื่อให้เลือดหยุดไหล ไม่ควรใช้วิธีการขันชะเนาะ เพราะจะทำให้เส้นเลือดบาดเจ็บได้ จากนั้นรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด เนื่องจากหากทิ้งระยะเวลานาน  เนื้อเยื่ออาจขาดเลือดและตายอย่างถาวรได้ ทำให้ไม่สามารถต่อนิ้วได้สำเร็จ​และเมื่อมาถึงโรงพยาบาล

แพทย์จะพิจารณาผ่าตัดต่อนิ้วให้กับผู้ป่วยทีได้รับบาดเจ็บดังต่อไปนี้ คือ

 

  • นิ้วโป้งขาด
  • นิ้วขาดหลายนิ้ว
  • นิ้วขาดในเด็ก
  • นิ้วขาดในตำแหน่งที่อยู่ปลายต่อข้อกลางนิ้วมือ

แต่ถ้าหากผู้ป่วยมีภาวะดังต่อไปนี้ แพทย์จะพิจารณาทำการผ่าตัดรูปแบบอื่นแทน ได้แก่

  1. นิ้วที่ขาด มีภาวะเนื้อเยื่อบาดเจ็บรุนแรงมาก แพทย์พิจารณาแล้วว่าโอกาสต่อนิ้วสำเร็จค่อนข้างต่ำมาก
  2. นิ้วขาดเป็นหลายท่อน ในนิ้วเดียวกัน
  3. ผู้ป่วยมีโรคประจำตัว หรือภาวะการบาดเจ็บร่วมอื่นๆ ที่ทำให้ผู้ป่วยไม่ปลอดภัยต่อการผ่าตัดที่ต้องใช้ระยะเวลานาน
  4. ผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดไม่ดี
  5. ผู้ป่วยที่มีภาวะทางจิตไม่ปกติ ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามแผนการรักษาอย่างเคร่งครัดได้
  6. ผู้ป่วยที่ถูกส่งตัวมาโรงพยาบาลช้าเกินไป ทำให้เนื้อเยื่อของนิ้วมือตาย ไม่สามารถทำการต่อให้สำเร็จได้

สำหรับวิธีการผ่าตัดต่อนิ้วนั้น ใช้วิธีการดมยาสลบ ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกตัวขณะผ่าตัด แพทย์จะทำการตัดกระดูกให้สั้นลง เพื่อให้สามารถเย็บต่อโครงสร้างอื่นๆได้โดยไม่ตึงเกินไป จากนั้นจะเย็บเส้นเอ็นที่ใช้ในการเหยียดและงอนิ้วมือ แล้วทำการต่อเส้นประสาท เส้นเลือดดำและเส้นเลือดแดงโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ตามลำดับ

หลังการผ่าตัด ผู้ป่วยต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลเป็นระยะเวลา 5-7 วัน เพื่อให้ยาฆ่าเชื้อ รอแผลติด และเฝ้าระวังภาวะต่างๆ ที่ทำให้เลือดไม่ไปเลี้ยงปลายนิ้ว ได้แก่ภาวะหลอดเลือดหดเกร็ง เลือดดำคั่ง    ลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดแดง ซึ่ง 2 ภาวะแรกนี้ สามารถทำการรักษาที่เตียงผู้ป่วยได้ ไม่ต้องเข้าห้องผ่าตัด แต่ถ้าหากเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดแดงขึ้นแล้ว ต้องนำผู้ป่วยเข้าห้องผ่าตัดเพื่อทำการตัดต่อเส้นเลือดใหม่

ในขณะที่นอนอยู่ในโรงพยาบาล ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้หลอดเลือดหดตัว ซึ่งจะทำให้นิ้วขาดเลือดได้ ได้แก่ การดื่มชา กาแฟ การสูบบุหรี่ การอยู่ในที่ที่อากาศเย็นๆ อาการตื่นเต้นตกใจ

​         เมื่อนิ้วไม่มีสัญญาณที่บ่งบอกถึงอาการขาดเลือด และแผลเริ่มแห้งดีแล้ว แพทย์จะอนุญาตให้ผู้ป่วยกลับบ้านได้ และจะนัดผู้ป่วยมาตรวจติดตามดูอาการ จนกระทั่งกระดูกนิ้วติดดี แล้วจึงเริ่มการทำกายภาพบำบัดเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถขยับนิ้วได้ดีขึ้น

 



 

ข้อมูลโดย นพ.สรวิศร์ วีระโสภณ (แพทย์เฉพาะทางสาขาจุลยศัลยศาสตร์)
ศูนย์ต่อนิ้ว โรงพยาบาลสมิติเวชศรีราชา

 

ติดต่อศูนย์ต่อนิ้ว
  • สถานที่
    ชั้น 1 อาคาร A
  • เวลาทำการ
    ให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง
  • โทรศัพท์
    095- 207-8526

แพ็คเกจที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด
ตรวจคัดกรองโรคสมอง หัวใจ และมะเร็งปอด (2C1U)

ตรวจคัดกรองโรคสมอง หัวใจ และมะเร็งปอด (2C1U)

ตรวจหาหินปูนในหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

ตรวจหาหินปูนในหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง

ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง

ตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย

ตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย

การตรวจหาภาวะพังผืดในเนื้อตับ และตรวจวัดปริมาณไขมันสะสมในตับ

การตรวจหาภาวะพังผืดในเนื้อตับ และตรวจวัดปริมาณไขมันสะสมในตับ

ตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนบนและส่วนล่าง

ตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนบนและส่วนล่าง

ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ตรวจวัดความหนาแน่นมวลกระดูก

ตรวจวัดความหนาแน่นมวลกระดูก

ตรวจสุขภาพสำหรับบุคคลทั่วไป (ชาย + หญิง) อายุ 40 ปีขึ้นไป

ตรวจสุขภาพสำหรับบุคคลทั่วไป (ชาย + หญิง) อายุ 40 ปีขึ้นไป

ตรวจสุขภาพสำหรับบุคคลทั่วไป เฮลท์ดี พลัส อายุ 25 ปีขึ้นไป (ตรวจ 2 ท่าน)

ตรวจสุขภาพสำหรับบุคคลทั่วไป เฮลท์ดี พลัส อายุ 25 ปีขึ้นไป (ตรวจ 2 ท่าน)

ตรวจสุขภาพสำหรับบุคคลทั่วไป เฮลท์ดี อายุ 25 ปีขึ้นไป (ตรวจ 2 ท่าน)

ตรวจสุขภาพสำหรับบุคคลทั่วไป เฮลท์ดี อายุ 25 ปีขึ้นไป (ตรวจ 2 ท่าน)

โปรแกรมตรวจสุขภาพคนประจำเรือ

โปรแกรมตรวจสุขภาพคนประจำเรือ

คนประจำเรือ คือ บุคคลที่ทำงานบนเรือ เช่น กัปตัน ช่างกลเรือ คนครัว กะลาสี เป็นต้น